บริษัท เอส แซค เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด

สารเร่งตกตะกอน Polymer (โพลิเมอร์, โพลีอะคริลาไมด์, Polyacrylamide, PAM) คืออะไร ?




พอลิเมอร์ โพลีอะคริลาไมด์ (PAM)  ถูกใช้เป็นสารเร่งการตกตะกอนของแข็งแขวนลอย จะช่วยตกตะกอนสารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำ
 
IUPAC Name       :  poly(2-propenamide) or poly(1-carbamoylethylene)
สูตรทางเคมี           :  (C3H5NO)n
CAS Number       :  9003-05-8

ชนิดของ โพลิเมอร์ โพลีอะคลิลาไมด์ PAM มี 4 ประเภท 1. ประจุบวก 2. ประจุลบ 3. ไม่มีประจุ และ 4. มีทั้งประจุบวกและลบ

1. Anionic Polymer โพลิเมอร์ประจุลบ (A-PAM) 
- เหมาะสำหรับจับสารแขวนลอยอนินทรีย์ ที่มีประจุบวก ในสภาวะ pH มากกว่าหรือเท่ากับ 7 (สภาวะเดียวกับที่ใช้สารตกตะกอน
สารส้ม/PAC/ACH)
- มักใช้ในกระบวนการรวมตะกอน (Flocculation) จะช่วยในการรวมตัวกันของตะกอนสารแขวนลอยที่ได้จากการใช้สารตกตะกอน
สารส้ม/PAC/ACH
 
2. Cationic Polymer โพลิเมอร์ประจุบวก (C-PAM)
- เหมาะสำหรับการจับสารแขวนลอยอินทรีย์ ที่มีประจุลบ เช่น การย้อมสี การผลิตกระดาษ อาหาร อาคาร โลหะวิทยา
การแปรรูปแร่ ถ่านหิน บ่อน้ำมัน การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และสายการหมัก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับน้ำเสียในเมือง กากตะกอนน้ำเสียในเมือง กากตะกอนจากการผลิตกระดาษ และการบำบัดกากตะกอนอุตสาหกรรมอื่นๆ
- มักใช้ในการแยกตะกอนออกจากน้ำ (Sludge Dewatering) ในเครื่องแยกตะกอนชนิดต่างๆ ในระบบบำบัดน้ำเสีย 
 
3. Nonionic Polymer โพลิเมอร์ไม่มีประจุ (N-PAM)
- เหมาะสำหรับการจับสารแขวนลอย ในของเหลวผสมระหว่างอินทรีย์และอนินทรีย์ และเหมาะกับสารละลายที่เป็นกรด 
เนื่องจากเป็น Nonionic ค่า pH ที่เป็นกรดจึงส่งผลกระทบต่อการตกตะกอนได้น้อย
- มักใช้ในกระบวนการ Flocculation ในกรณีที่สารละลายเป็นกรด
- ไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย

4. (An-Cat)ionic Polymer หรือ Amphoteric Polymer โพลิเมอร์มีทั้งสองประจุ (AC-PAM)/(Am-PAM)
- เหมาะสำหรับการจับสารแขวนลอย ในสารละลายที่มีค่า pH แปรปรวน
- มักใช้ในการแยกตะกอนออกจากน้ำ (Sludge Dewatering) และ การกำจัดไอออนโลหะ (Removal of metal ions)
- ใช้ในระบบที่ จำเป็นจะต้องมีการเติมทั้ง Anionic Polymer และ Cationic Polymer ซึ่งการเติมทั้ง 2 ชนิดนั้น จะทำให้
Polymer ทั้ง 2 ชนิดทำปฏิกิริยากันเอง และจับสารแขวนลอยได้ไม่ดี แต่ Amphoteric Polymer เป็นแบบ zwitterionic nature ที่จะสร้างประจุโดยไม่ตกตะกอนตัวเอง
- ไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย


ตารางแสดงความแตกต่างของคุณสมบัติ Polyacrylamide แต่ละชนิด

Credit
<< ย้อนกลับ
COPYRIGHT © S-SACK ENTERPRISE CO., LTD. All rights reserved.
Top