ความแตกต่างของน้ำยาฆ่าเชื้อ แต่ละชนิด และน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะแก่การใช้กำจัดโคโรน่าไวรัส
น้ํายาฆ่าเชื้อ คือ สารเคมีที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ปลอดเชื้อ หรือระงับเชื้อ มีหลากหลายประเภท หลักการทำงานของน้ำยาฆ่าเชื้อมี 2 ลักษณะ
Antiseptics หมายถึง สารเคมีที่ใช้ทําลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้กับภายนอกของร่างกาย ไม่ทําอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
Disinfectant หมายถึง สารเคมีที่ใช้ทําลายจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคและใช้กับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น พื้นผิววัสดุ เครื่องมือ และสถานที่เป็นต้น เพราะสามารถจะทําให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและเยื่อเมือกของร่างกายโดยตรง
ชนิดของน้ำย่าฆ่าเชื้อ
1. แอลกอฮอล์ (Alcohol) ที่นิยมใช้คือ เอทธิลแอลกอฮอล์ (Ethylalcohol) และไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol)
ประสิทธิภาพ
- แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์โดยการตกตะกอนโปรตีน และละลายไขมันที่เยื้อหุ้มเซลล์
- ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสูงกว่า เอทธิลแอลกอฮอล์ (Ethylalcohol) และระเหยช้ากว่า ทำให้ผิวแห้งและระคายเคือง
- ความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดคือ 70% เพราะมีปริมาณแอลกอฮอล์น้อยที่สุดที่จะได้ผลดีที่สุด และมีความชื้นพอให้ผิวเปียกกำลังดีกระจายตัวดีแล้วระเหยอย่างช้า ๆ ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง
- เหมาะสำหรับฉีดทำความสะอาดบนร่างกาย แต่อาจทำให้ผิวแห้ง
ข้อจำกัดของแอลกฮอล์
- ประสิทธิภาพลดลงเมื่อสัมผัสสารอินทรีย์เพราะไม่ละลายโปรตีนในเลือด หรือน้ำลาย
- กัดกร่อนเลนส์ และเครื่องใช้พลาสติก
2. สารประกอบคลอรีน (Chlorine Compounds) คลอรีนแต่ละสถานะมีโครงสร้างที่ต่างกัน สถานะก๊าซ จะเป็น คลอรีนไดออกไซด์ สถานะของแข็ง จะเป็น ไตรคลอโรไอโซไซยานูริก แอซิด หรือ แคลเซียมไฮโปคลอไรด์ สถานะของเหลว ที่นิยมใช้ จะเป็นโซเดียมไฮโปคลอไรด์ (NaOCl)
ประสิทธิภาพ
- โซเดียมไฮโปคลอไรด์ (NaOCl) มัราคาถูก
- สามารถฆ่าเชื้อได้ดี ขึ้นอยู่กับความเข้มข้น
- เหมาะสำหรับทำความสะอาดพื้นผิว ไม่เหมาะสำหรับทำความสะอาดร่างกาย เพราะมีกลิ่นฉุน และระคายเคือง
ข่อจำกัดของคลอรีนน้ำ
- สลายตัวไว ความเข้มข้นลดลง ต้องผสมใหม่ทุกวัน
- ระคายเคืองเนื้อเยื่อ
- กลิ่นฉุน กัดกร่อนโลหะ
- ประสิทธิภาพลดลงเมื่อสัมผัสอินทรีย์วัตถุ
3. ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide) เป็นสารประกอบบริสุทธิ์ มีฤทธิ์ฟอกขาว
ประสิทธิภาพ
- ใช้ทา/เช็ดผิวหนัง ยับยั้งเชื้อโรคบริเวณปากแผล ความเข้มข้น 6%
- ใช้กลั้วคอ/บ้วนปาก เพื่อลดการอารเจ็บคอ บรรเททาอาการเหงือกอักเสบ (ความเข้มข้นต่ำ 3%) ห้ามกลืน ทำลายเนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร
- ทำความสะอาดผิวหนัง ทำลายเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว (ห้ามเข้าตาทำลายเนื้อเยื่อตา)
- สามารถใช้กับร่างกายแต่อาจมีผลระคายเคือง สามารถใช้พ่นทำความสะอาดพื้นผิวได้
ข้อจำกัด
- มีกลิ่นฉุน
- ไม่ควรใช้กับแผลลึก เพราะทำให้แผลสมานตัวช้า
- เป็นยาใช้ภายนอก ต้องระวังเกิดอาการข้างเคียง ระคายเคือง
- ห้ามใช้กับผู้ที่มีอาการแพ้
- ไม่เหมาะกับสตรีมีครรภ์ และเด็ก
- การใช้กลั้วปากอาจทำให้ต่อมน้ำลายหรือต่อมรับรสบวม แต่จะหายหลังเลิกใช้ยา
4. เบนซาลโคเนียมคลอไรด์ (Benzakonium chloride) เป็นสารกลุ่มลดแรงตึงผิว ที่ออกฤทธิ์ต่อต้าน และลดการติดเชื้อ
ประสิทธิภาพ
- เป็นส่วนผสมในยาหยอดตา หยอดหู ยาพ่นจมูก แชมพู ยากำจัดกลิ่น และสำหรับยาฆ่าเชื้อที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์ (Alcohol) หรือ ไฮโดรเจนเปอออกไซด์ (Hydrogen peroxide) จึงไม่ก่อความเสียหายแก่ผิวหนัง
- เป็นยาทาป้องกันแผลติดเชื้อภายนอก
- เป็นสารกลุ่มลดแรงตึงผิว จึงสามารถทำความสะอาดคราบไขมันได้
- ใช้ในการฉีดพ้น พื้นผิววัสดุ สถานที่ เพื่อฆ่าเชื้อและป้องกันไวรัส
- ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง (แต่ไม่ควรกลืนกิน)
- ใช้ปริมาณน้อย ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นฉุน
- สามารถใช้กำจัดกลิ่น
- ไม่จำเป็นต้องล้างออก
- ได้รับการรับรองจาก อย. สามารถใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ปลอดภัยต่อคนและสัตว์
- ระเหยช้า ผสมแล้วสามารถใช้ได้นานได้ 1 สัปดาห์ ดีกว่าคลอรีนที่ระเหย ภายในไม่กี่วัน
ข้อจำกัด
- ไม่เหมาะกับผู้ที่แพ้ยานี้ สตรีมีครรภ์และเด็ก
- ห้ามให้เข้าตา ห้ามกลืนกิน
- ไม่ควรผสมยาวนานกว่า 1 สัปดาห์
- อาจระคายเคืองเล็กน้อย
เนื่องจากเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนาสามารถติดอยู่กับพื้นผิวสิ่งของต่าง ๆ ที่อุณหภูมิห้อง และมีชีวิตอยู่ได้นาน และอยู่ได้นานขึ้นหากมีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม ดังนั้น การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของ เบนซาลโคเนียมคลอไรด์ (Benzakonium chloride) เหมาะสำหรับการใช้งาน เพราะว่าสามารถฉีดพื้นผิว สิ่งของ สถานที่ ทิ้งไว้ได้ แล้วมีการระเหยที่ต่ำ รวมถึงไม่มีกลิ่นฉุน และไม่มีอันตรายต่อผิว จึงสามารถสัมผัสได้โดยไม่เป็นอันตราย (แต่ห้ามกลืน/นำเข้าตา)
Credit
Credit
<< ย้อนกลับ