บริษัท เอส แซค เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด

การทำให้น้ำใส (Clarification)




การทำให้น้ำใส คือ กระบวนการที่พวกสารแขวนลอยต่าง ๆ เกิดการจับตัว (Coagulation) การรวมตัว (Flocculation) และการตกตะกอน (Sedimentation) สิ่งที่ทำให้เกิดความขุ่นในน้ำ มีตั้งแต่ กรวด ทราย โคลน ดิน แบคทีเรีย และอนุภาคคอลลอยด์ต่าง ๆ เพื่อให้ตกตะกอนได้รวดเร็วจึงใช้สารเคมีเพื่อช่วยในการตกตะกอน

การจับตัว (Coagulation)

พวกอนุภาคคอลลอยด์ที่มีขนาด 1-500 มิลลิไมครอน เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดความขุ่นในน้ำ แรงกระทำบนอนุภาคคอลลอยด์มีทั้งแรงดึงดูดและแรงผลัก แรงดึงดูด คือ แรงแวนเดอวาลดูดให้อนุภาคเข้าหากัน ส่วนแรงผลักเกิดจากประจุบวกล้อมรอบอนุภาค ซึ่งโดยปกติ แรงผลักมีมากกว่า อนุภาคจึงไม่รวมตัวกัน

แรงดึงดูดและแรงผลักระหว่างอนุภาคคอลลอยด์
 
วิธีทำลายแรงผลักระหว่างอนุภาค ทำได้โดยใช้สารเคมีตกตะกอน เช่น สารส้ม PAC ACH Ferric chloride สารเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น Coagulant เมื่อแตกตัวในน้ำเป็นไอออนของโลหะที่มีประจุไฟฟ้าบวก โดยไปลดชั้นประจุไฟฟ้า ทำให้แรงผลักลดลง และเมื่อถูกการกวนเร็วจะทำให้อนุภาคดูดติดกันได้ และจับตัวเป็น Floc ขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งถ้าใส่สารเคมีตกตะกอนมากเกินไปจะทำให้ ไอออนบวกของสารเคมีกับไอออนบวกที่ผิวอนุภาคผลักกัน

สารเคมีช่วยตกตะกอนช่วยลดแรงผลักระหว่างอนุภาค และการใส่สารเคมีมากเกินไป

การรวมตัว (Flocculation)

ฟล็อคที่เกิดจากการจับตัวกันของอนุภาคคอลลอยด์นั้น จะยังมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะตกตะกอนอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการกวนช้า (Slow Mixing) เพื่อให้ฟล็อครวมตัวกันเป็นก้อนที่ใหญ่ขึ้น หากกวนเร็วเกินไปจะเกิดแรงเฉือนทำให้ฟล็อคแตกออกได้ การใส่สาร Polymer หรือ Polyelectrolytes จัดเป็นกลุ่ม Flocculants จะช่วยเร่งความเร็วในการรวมตัวให้ฟล็อคมีขนาดใหญ่ได้ง่าย

การรวมตัว (Flocculation) โดยมี Polymer เป็น Flocculant
<< ย้อนกลับ
COPYRIGHT © S-SACK ENTERPRISE CO., LTD. All rights reserved.
Top