บริษัท เอส แซค เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด

การเกิดตะกรันเกาะจับในระบบเส้นท่อ หม้อไอน้ำ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน หอหล่อเย็น




น้ำบริสุทธิ์เมื่ออยู่ในภาชนะที่ไม่เกิดการกัดกร่อนจะไม่มีตะกรันเกาะจับ ตะกรันเกาะจับที่พบแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
- สารอินทรีย์ Organics
- สารอนินทรีย์ Inorganics
- จุลชีพ Biological

 
ในระบบการป้อนน้ำเข้าหม้อไอน้ำ มีโอกาสเกิดตะกรันจับบนพื้นผิวถ่ายเทความร้อน เช่น ผนังท่อในหม้อไอน้ำ เมื่อเกิดตะกรันจะทำให้การถ่ายเทความร้อนแย่ลง ตะกรันจะทำหน้าที่เหมือน ฉนวนป้องกันการถ่ายเทความร้อน ทำให้ท่อโลหะมีอุณหภูมิสูง เกิดการอ่อนตัว และอาจทำให้ท่อแตกได้ 
 

การเกิดตะกรัน
ในหม้อไอน้ำจะมีน้ำหมุนเวียนตลอดเวลา ตรงผิวท่อที่มีอุณหภูมิสูง น้ำในบริเวณนั้นจะระเหยเป็นไอทันที จึงมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าปกติ ซึ่งประกอบด้วยเกลือแร่ชนิดต่าง ๆ สูงมากจนตกผลึกเป็นตะกอนอยู่บริเวณนั้น ผลึกที่เกิดขึ้นแล้วจะสะสมกันมากขึ้นจนเป็นตะกรันเกาะจับ และสะสมจนมีอนุภาคใหญ่ขึ้น ตะกรันเหล่านี้เกาะจับผนังท่อได้ดี เพราะผนังท่อมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ (-) และอนุภาคมีประจุบวก (+)

 

ตะกรันชนิดต่าง ๆ 
1. แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นตะกรันที่เป็นผลึกเม็ดใหญ่ ถ้ามีสิ่งเจือปนอยู่ในผลึก ผลึกจะมีรูปร่างเป็นเม็ดเล็ก ๆ 
Ca2+ + CO32-   à  CaCO3
 
2. แมกนีเซียมคาร์บอเนตและไฮดรอกไซด์ แมกนีเซียมคาร์บอเนตละลายในน้ำกลั่นได้มากกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต 4 เท่า จึงก่อให้เกิดปัญหาน้อยกว่า ปกติจะเป็นแมกนีเซียมคาร์บอเนต
Mg(HCO3)    MgCO3 + CO2 + H2O
ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 82°C จะสลายตัวเป็นแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
MgCO3 + H2O  Mg(OH)2 + CO2
 
3. แคลเซียมซัลเฟต ยิปซัม มักเกาะบนพื้นผิวท่อมากกว่าส่วนที่เป็นสลัดจ์ Sludge มีขนาดเล็กกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต เนื้อแน่นและแข็งกว่า
Ca2+ + SO42-   à  CaSO4  
 
4. แบเรียมซัลเฟต เป็นตะกรันที่ละลายน้ำได้น้อยที่สุด กำจัดทิ้งได้ยาก ทำปฏิกิริยากับสารเคมีล้างตะกรันน้อยที่สุด
Ba2+ + SO42-   à  BaSO4
 
5. เหล็ก เกิดจากสองที่มา คือ แหล่งน้ำที่มีเหล็กละลายอยู่ หรือจากการกัดกร่อนของเหล็ก 
เหล็กออกไซด์ (Fe2O3) จะเป็นสารแขวนลอยที่มีสีแดงของสนิมเหล็ก
เหล็กซัลไฟด์ (FeS) จะเป็นสารแขวนลอยที่มีสีดำ อาจจะอยู่ในรูป (Fe9S8)/(Fe0.875S)/(FeS2)
ถ้าน้ำมีออกซิเจนละลายอยู่จะเกิดเฟอร์รัสไฮดรอกไซด์ (Fe(OH)2) และ เฟอร์ริกไฮดรอกไซด์ (Fe(OH)3)
ถ้าน้ำมีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่จะเกิดเฟอร์รัสคาร์บอเนต (FeCO3)

 
6. ซิลิกา เกิดจากซิลิกาที่ละลายอยู่ในน้ำธรรมชาติ อยู่ในรูปสารแขวนลอย และในรูปกรดซิลิสิก (H4SiO4)
 
<< ย้อนกลับ
COPYRIGHT © S-SACK ENTERPRISE CO., LTD. All rights reserved.
Top