ข้อแตกต่างระหว่าง Cationic Polyacrylamide และ Anionic Polyacrylamide
การใช้งาน Cationic Polyacrylamide
1. การแยกน้ำออกจากกากตะกอน (Sludge Dewatering)
- Cationic Polyacrylamide มีประสิทธิภาพที่ดีในการทำให้กากตะกอน (Sludge) จับตัวกันเป็นก้อน ไม่ให้สามารถทะลุผ่านผ้ากรองได้ ทำให้กากตะกอนที่ได้ มีความชื้นน้อยกว่า 80%
2. การบำบัดน้ำเสียและน้ำเสียอินทรีย์
- Cationic Polyacrylamide จะมีประสิทธิภาพในการตกตะกอนสารแขวนลอยที่มีประจุลบ เช่น น้ำเสียของโรงงานผลิตแอลกอฮอล์ โรงงานเบียร์ โรงงานผลิตผงชูรส โรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตอาหารที่มีเนื้อสัตว์ โรงงานเครื่องดื่ม โรงงานฟอกย้อม เป็นต้น เพราะน้ำเสียเหล่านี้ ส่วนมากมีประจุลบ
ภาพตะกอนที่ได้จากการ Sludge Dewatering
การใช้งาน Anionic Polyacrylamide
1. ระบบบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรม
- มีประสิทธิภาพที่ดีในการตกตะกอน สารแขวนลอยที่มีประจุบวก และในสารละลายที่มีค่า pH เป็นกลางหรือด่าง เช่น โรงงานเหล็ก โรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า น้ำเสียจากถ่านหิน เป็นต้น
2. การผลิตน้ำดื่ม
- แหล่งน้ำดื่มส่วนมากมีตะกอนแร่ธาตุเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะผ่านการกรองแล้วก็ยังมีความขุ่น จึงยังต้องใช้ Anionic Polyacrylamide ตกตะกอนสารแขวนลอย ทำให้น้ำใสมากขึ้น สำหรับแหล่งน้ำที่มีความสกปรก และมีมลพิษสูงเหมาะจะใช้ Cationic Polyacrylamide จะมีประสิทธิภาพมากกว่า
3. การนำแป้งในน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ (Recycling of losing starch) ในโรงงานแป้ง และแอลกอฮอล์ในโรงงานแอลกอฮอล์
- ปัจจุบันน้ำเสียของโรงงานแป้งหลายแห่งมีแป้งจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาตกตะกอนและนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ แอลกอฮอล์ในโรงงานแอลกอฮอล์ก็สามารถแยกออกจากน้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยการกรองโดยใช้แรงดัน
ภาพลักษณะการจับตะกอนของ Anionic Polymer ในกระบวนการ Flocculation
<< ย้อนกลับ