บริษัท เอส แซค เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
02-385-6603-4
Home
Our Product
Industrial Grade
Water Treatment
ACH
Alum
Ferric Chloride
PAC น้ำ และ PAC ผง
Polymer
Activated Carbon
Ion Exchange Resin (DIAION)
Basic Chemical
ปูนขาว
Calcium Hypochlorite
Caustic Soda
Citric Acid
Calcium Chloride
Copper Sulphate
Decolor
Defoamer
Ferrous Sulfate
Hydrochloric Acid
Hydrogen peroxide
Nitric Acid
Phosphoric Acid
Soda Ash
Sodium Bicarbonate
เกลือ,เกลืออุตสาหกรรม
คลอรีนน้ำ 10%
Sodium Metabisulfite
Sulphuric Acid
Urea
Product List
Coronavirus COVID-19
Evosan Q15 (น้ำยาฆ่าเชื้อโควิด19)
Antigen Rapid test (ชุดตรวจโควิทเบื้องต้น)
OUR SERVICE
ARTICLE
การใช้ HYDRO PAC (Poly Aluminium Chloride)
PAC (Poly aluminum Chloride) คืออะไร ?
การใช้ ACH (Aluminium Chlorohydrate)
ACH (Aluminium Chlorohydrate) คืออะไร ?
ข้อแตกต่างระหว่าง PAC กับสารตกตะกอนอื่นๆ
ขั้นตอนในการผลิตน้ำประปา
การทำให้น้ำใส (Clarification)
สารเร่งตกตะกอน Polymer (โพลิเมอร์, โพลีอะคริลาไมด์, Polyacrylamide, PAM) คืออะไร ?
ข้อแตกต่างระหว่าง Cationic Polyacrylamide และ Anionic Polyacrylamide
การเกิดตะกรันเกาะจับในระบบเส้นท่อ หม้อไอน้ำ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน หอหล่อเย็น
การใช้งาน สารกรองเรซิ่น (Ion Exchange Resin)
การวัดคุณภาพของน้ำ พารามิเตอร์ต่างๆ มีความหมายอย่างไร
ความแตกต่างของน้ำยาฆ่าเชื้อ แต่ละชนิด และน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะแก่การใช้กำจัดโคโรน่าไวรัส
About Us
Contact Us
การวัดคุณภาพของน้ำ พารามิเตอร์ต่างๆ มีความหมายอย่างไร
1.
คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำ
คือ ลักษณะทางภายนอกที่แตกต่างกัน เช่นความใส ความขุ่น กลิ่น สี เป็นต้น
อุณหภูมิ (
temperature)
อุณหภูมิของน้ำมีผลในด้านการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งจะส่งผลต่อการลดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ
สี (
color)
สีของน้ำเกิดจากการสะท้อนแสงของสารแขวนลอยในน้ำ เช่น น้ำตามธรรมชาติจะมีสีเหลืองซึ่งเกิดจากกรดอินทรีย์ น้ำในแหล่งน้ำที่มีใบไม้ทับถมจะมีสีน้ำตาล หรือถ้ามีตะไคร่น้ำก็จะมีสีเขียว
กลิ่นและรส
กลิ่นและรสของน้ำจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยหรือสารในกลุ่มของฟีนอล เกลือโซเดียมคลอไรด์ซึ่งจะทำให้น้ำมีรสกร่อยหรือเค็ม
ความขุ่น (
turbidity)
เกิดจากสารแขวนลอยในน้ำ เช่น ดิน ซากพืช ซากสัตว์
การนำไฟฟ้า (
electical conductivity)
บอกถึงความสามารถของน้ำที่กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของอิออนโดยรวมในน้ำ และอุณหภูมิขณะทำการวัดค่าการนำไฟฟ้า
ของแข็งทั้งหมด (
total solid: TS)
คือ
ปริมาณของแข็งในน้ำ สามารถคำนวณจากการระเหยน้ำออก ได้แก่ ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (
Total Dissolved Solids: TDS)
จะมีขนาดเล็กผ่านขนาดกรองมาตรฐาน คำนวณได้จากการระเหยน้ำที่กรองผ่านกระดาษกรองออกไป ของแข็งแขวนลอย (
Suspended Solids: SS)
หมายถึง ของแข็งที่อยู่บนกระดาษกรองมาตรฐานหลังจากการกรอง แล้วนำมาอบเพื่อระเหยน้ำออก ของแข็งระเหยง่าย (
Volatile Solids: VS)
หมายถึง ส่วนของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์แต่ละลายน้ำ สามารถคำนวณได้โดยการนำกระดาษกรองวิเคราะห์เอาของแข็งที่แขวนลอยออก แล้วนำของแข็งส่วนที่ละลายทั้งหมดมาระเหยอุณหภูมิประมาณ
550
องศาเซลเซียส นำน้ำหนักน้ำที่ชั่งหลังการกรองลบด้วยน้ำหนักหลังจากการเผา น้ำหนักที่ได้คือ ของแข็งส่วนที่ระเหยไป
2.
คุณสมบัติทางด้านเคมีของน้ำ
คือ ลักษณะทางเคมีของน้ำ เช่น ความเป็นกรด - เบส ความกระด้าง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ เป็นต้น
pH
แสดงความเป็นกรดหรือเบสของน้ำ
(
น้ำดื่มควรมีค่า
pH
ระหว่าง
6.8-7.3)
โดยทั่วไปน้ำที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีค่า
pH
ที่ต่ำ (
pH < 7)
ซึ่งหมายถึงมีความเป็นกรดสูงมีฤทธิ์กัดกร่อน การวัดค่า
pH
ทำได้ง่าย โดยการใช้กระดาษลิตมัสในการวัดค่าความเป็นกรด -
เบส ซึ่งให้สีตามความเข้มข้นของ [
H
+
]
หรือการวัดโดยใช้
pH meter
เมื่อต้องการให้มีความละเอียดมากขึ้น สภาพเบส (
alkalinity)
คือสภาพที่น้ำมีสภาพความเป็นเบสสูงจะประกอบด้วยไอออนของ
OH
-
, CO
3
-
, H
2
CO
3
ของธาตุแคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม หรือแอมโมเนีย ซึ่งสภาพเบสนี้จะช่วยทำหน้าที่คล้ายบัฟเฟอร์ต้านการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ในน้ำทิ้ง สภาพกรด (
acidity)
โดยทั่วไปน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชนจะมีบัฟเฟอร์ในสภาพเบสจึงไม่ทำให้น้ำมีค่า
pH
ที่ต่ำเกินไป แต่น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีค่า
pH
ต่ำกว่า
4.5
ซึ่งมาจาก
CO
2
ที่ละลายน้ำ
ความกระด้าง (
hardness)
เป็นการไม่เกิดฟองกับสบู่และเมื่อต้มน้ำกระด้างนี้จะเกิดตะกอน น้ำกระด้างชั่วคราว เกิดจากสารไบคาร์บอเนต (
CO
3
2-
)
รวมตัวกับ ไออออนของโลหะเช่น
Ca
2+
, Mg
2+
ซึ่งสามารถแก้ได้โดยการต้ม นอกจากนี้แล้วยังมีความกระด้างถาวรซึ่งเกิดจากอิออนของโลหะและสารที่ไม่ใช่พวกคาร์บอเนต เช่น
SO
4
2-
, NO
3
-
, CI
-
รวมตัวกับ
Ca
2+
, Fe
2+
, Mg
2+
เป็นต้น ความกระด้างจึงเป็นข้อเสียในด้านการสิ้นเปลืองทรัพยากร คือต้องใช้ปริมาณสบู่หรือผงซักฟอกในการซักผ้าในปริมาณมาก ซึ่งก็จะเกิดตะกอนมากเช่นกัน
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ
DO
(
dissolved oxygen)
แบคทีเรียที่เป็นสารอินทรีย์ในน้ำต้องการออกซิเจน (
aerobic bacteria)
ในการย่อยสลายสารอนินทรีย์ ความต้องการออกซิเจนของแบคทีเรียนี้จะทำให้จะทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง ดังนั้นในน้ำที่สะอาดจะมีค่า
DO
สูง และน้ำเสียจะมีค่า
DO
ต่ำ มาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า
DO
ประมาณ
5-8 ppm
หรือปริมาณ
O
2
ละลายอยู่ปริมาณ
5-8
มิลลิกรัม / ลิตร หรือ
5-8 ppm
น้ำเสียจะมีค่า
DO
ต่ำกว่า
3 ppm
ค่า
DO
มีความสำคัญในการบ่งบอกว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการของสิ่งมีชีวิตหรือไม่
ค่า
BOD
(
biological oxygen demand)
เป็นปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ น้ำที่มีคุณภาพดี ควรมีค่าบีโอดี ไม่เกิน
6
มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่าบีโอดีสูงมากแสดงว่าน้ำนั้นเน่ามาก แหล่งน้ำที่มีค่าบีโอดีสูงกว่า
100
มิลลิกรัมต่อลิตรจะจัดเป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย พระราชบัญญัติน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดไว้ว่า น้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องมีค่าบีโอดีไม่เกิน
20
มิลลิกรัมต่อลิตร การหาค่า บีโอดี หาได้โดยใช้แบคทีเรียย่อยสลายอินทรียสารซึ่งจะเป็นไปช้า ๆ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลานานหลายสิบวัน ตามหลักสากลใช้เวลา
5
วัน ที่อุณหภูมิ
20
องศาเซลเซียสโดยนำตัวอย่างน้ำที่ต้องการหาบีโอดีมา
2
ขวด ขวดหนึ่งนำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าออกซิเจนทันที สมมุติว่ามีออกซิเจนอยู่
6.5
มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนน้ำอีกขวดหนึ่งปิดจุกให้แน่น เพื่อไม่ให้อากาศเข้า นำไปเก็บไว้ในที่มืดที่อุณหภูมิ
20
องศาเซลเซียสนาน
5
วัน แล้วนำมวิเคราะห์หาปริมาณออกซิเจน สมมุติได้
0.47
มิลลิกรัม ต่อลิตร ดังนั้นจะได้ค่าซึ่งเป็นปริมาณออกซิเจน ที่ถูกใช้ไป หรือ ค่าบีโอดี =
6.5-0.47 = 5.03
มิลลิกรัมต่อลิตร
ค่า
COD (Chemical Oxygen Demand)
คือ ปริมาณ
O
2
ที่ใช้ในการออกซิไดซ์ในการสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (
K
2
Cr
2
O
7
)
ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อยสลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปค่า
COD
จะมีค่ามากกว่า
BOD
เสมอ ดังนั้นค่า
COD
จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสีย
TOC
(
Total Organic Carbon)
คือ ปริมาณคาร์บอนในน้ำ
ไนโตรเจน
เป็นธาตุสำคัญสำหรับพืช ซึ่งจะอยู่ในรูปของ แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไนไตรท ไนเตรต ยิ่งถ้าในน้ำมีปริมาณไนโตรเจนสูง จะทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ฟอสฟอรัส
ในน้ำจะอยู่ในรูปของสารประกอบพวก
ออร์โธฟอสเฟต (
Orthophosphate)
เช่นสาร
PO
4
3-
, HPO
4
2-
, H
2
PO
4
-
และ
H
3
PO
4
นอกจากนี้ยังมีสารพวกโพลีฟอสเฟต
ซัลเฟอร์
มีอยู่ในธรรมชาติและเป็นองค์ประกอบภายในของสิ่งมีชีวิต
สารประกอบซัลเฟอร์ในน้ำจะอยู่ในรูปของ
organic sulfur
เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟต์ สารซัลเฟต เป็นต้น ซึ่งสารพวกนี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเน่า เช่น ที่เรียกว่าก๊าซไข่เน่า และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กัดกร่อนในสิ่งแวดล้อมได้
โลหะหนัก
มีทั้งที่เป็นพิษและไม่เป็นพิษ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ ถ้ามากเกินไปจะเป็นพิษ ได้แก่ โครเมียม ทองแดง เหล็ก แมงกานีสและสังกะสี บางชนิดไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่ แคดเมียม ตะกั่ว ปรอทและนิกเกิล
<< ย้อนกลับ
Top